สารานุกรม (ไทย)
|
หนังสือสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน (Thai Junior Encyclopedia Project) |
 |
สารานุกรม โดยพระราชประสงค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หนังสือสารานุกรมสำหรับเยาวชน ส่งเสริมให้เยาวชนไทย
ได้หาความรู้ขั้นพื้นฐาน ในเรื่องราวและวิชาการสาขาต่างๆ |
วิกิพีเดีย (wikipedia) |
 |
สารานุกรมนี้ เป็นต้นแบบของสารานุกรมเสรีออนไลน์ มีผู้ใช้มากที่สุด
ในโลก เพราะเนื้อหามาจากบุคคลหลากหลายอาชีพไม่จำกัดมีความ
เป็นเสรี โดยคุณภาพขึ้นอยู่กับความร่วมมือของผู้ใช้งานเอง
ปรับปรุงแก้ไข เนื้อหาได้ทันที
ระยะเวลาในการจัดทำไม่จำกัด
แต่ไม่รับประกันความถูกต้องของข้อมูล |
สารานุกรม (อังกฤษ) |
บริทเทนิกา (Britannica) |
 |
เป็นต้นแบบสารานุกรมสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ เขียน เรียบเรียง
โดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ความถูกต้องคุณภาพและการยอมรับ
ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของผู้เชี่ยวชาญ
หรือสำนักพิมพ์มีลิขสิทธิ์ของ
ผู้จัดพิมพ์ เนื้อหาจำกัดอยู่เฉพาะความรู้
ของผู้เชี่ยวชาญ และ
ผู้เรียบเรียงและยังสามารถกำหนดระยะเวลาในการจัดทำได้ |
ซิติเซนเดียม (Citizendium) |
 |
สารานุกรมออนไลน์ เป็นโครงการรวบรวมความรู้ จากทั่วโลก
มีลักษณะคล้ายกับสารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดีย
ซึ่งซิติเซนเดียม
เป็นเว็บไซต์สารานุกรมที่แยกตัว
ออกมาจากวิกิพีเดียได้รับการ
ควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา
โดยนำข้อมูลจากวิกิพีเดีย
ภายใต้
ลิขสิทธิ์ของ GFDL ซึ่งเป็นสัญญา
เอกสารเสรีของกนู
เป็นสัญญาอนุญาตชนิดหนึ่งที่พัฒนาโดย
มูลนิธิซอฟท์แวร์เสรี
มาดัดแปลงและแก้ไข โดยผู้เชี่ยวชาญ |
Knol Google |
 |
สารานุกรมออนไลน์ ให้บริการโดยกูเกิลมีเนื้อหาหลากหลาย
ยกตัวอย่าง เช่นด้านการแพทย์วิทยาศาสตร์
ประวัติศาสตร์
เปิดให้ผู้ใช้งาน สามารถสร้างเนื้อหาที่ตนสนใจ และร่วมกันแบ่งปัน
รวมถึงแลกเปลี่ยน
ความรู้จากบุคคลทั่วโลก ในแต่ละบทความมี
ผู้รับผิดชอบหนึ่งคน การแก้ไขเนื้อหาบทความกระทำได้
ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้รับผิดชอบหลัก |
ภาษาไทย (Thai Literature) |
|
ราชบัณฑิตยสถาน (The Royal Institute) |
 |
มีหน้าที่ด้านวิชาการระหว่างหน่วยงาน ทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ
สร้างกลุ่มงานแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความคิดเห็น
ด้านวิชาการในหลายสาขาวิชา ซึ่งนำไปสู่ความร่วมมือ
ในการวิจัยพัฒนาการจัดทำฐานข้อมูลวิชาการสาขาต่างๆ
การให้บริการงานวิชาการและการผลิตสื่อชนิดต่างๆ
เพื่อ
เผยแพร่ผลงานของราชบัณฑิตยสถานในรูปแบบเอกสาร
และตำราทางวิชาการที่เป็นสิ่งพิมพ์เอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์
รวมทั้งงาน ด้านการบริหารและการจัดการพจนานุกรม
ราชบัณฑิตยสถาน เป็นแหล่งข้อมูล
ความหมาย และการตรวจสอบ
เพื่อการจัดทำสารานุกรมโทรคมนาคมไทยได้เป็นอย่างดี |
สยามจดหมายบันทึกเหตุ (Siam archives) |
 |
แหล่งข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาอ้างอิงของประเทศ
โดยมีการบันทึกข่าวสาร
และเหตุการณ์สำคัญตามความเป็นจริง
เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ที่สำคัญของและเป็นประโยชน์
ต่อการ
ศึกษา
ค้นคว้า อ้างอิงของคนรุ่นหลัง สยามจดหมายเหตุเป็นต้นแบบ
แนวทางของการจัดรูปแบบการนำเสนอที่เป็นเฉพาะ
“แกนของวิชาการ” ไม่รวมอรรถาธิบายที่ใช้ใน
สารานุกรมโทรคมนาคมไทย |
หน้า 1 |